ใครไม่เคยหาที่วางแพ็กช็อตสินค้าในงานตัวเองขอให้ยกมือขึ้น!!!
ยกเสร็จแล้วจะนับแล้วนะครับ.. นับนะครับ… 1 2 3.. ไม่รู้ดิมันจะเห็นได้ยังใงนะครับ
อะพอแล้วมุกตลกฝืดๆผ่านไปเร็วๆเอาสาระกันก่อนดีกว่า ผมเชื่อว่าหลายคนต้องเคยผ่านงานอออกแบบพวก โปสเตอร์ แผ่นพับ โบชัวร์ เฟซบุ๊คโพสต์ แคมเปญโฆษณาต่างๆ ฯลฯ น่าจะเคยมีปัญหาหรือไม่ใช่ปัญหาก็ได้ แต่ต้องมีซักครั้งสองครั้งแหละน่าที่ต้องตัดสินใจว่าจะวางสินค้าใว้ตรงไหน ให้งานดีไซน์ของคุณลงตัวที่สุดโดยที่โจทย์ร่วมกันก็น่าจะเป็น
“ไม่อยากให้ดูฮาร์ดเซล”
“มันเกะกะกราฟิกเท่ๆของเราเหลือเกิน”
“ตัวหนังสือเยอะไปดูอึดอัด”
และอีกหลายล้านเจ็ดสิบเอ็ดเหตุผลที่การหาตำแหน่งวางสินค้ามันดูยากเกินไป หลายๆคนน่าจะเคยวางไปวางมาจนเสียเวลาอันมีค่าไปอย่างไม่มีเหตุผลมาแล้ว แม้จะวางยันเช้าก็ยังไม่โอเค…แต่วันนี้พอกันที่เรื่องแบบนั้น!! ผมมีคำแนะนำสั้นๆ ที่จะว่าทื่อก็ทื่อไปเลยมาแนะนำซึ่งผู้เชี่ยวชาญหลายๆท่านก็น่าจะรู้และเข้าใจกันดีอยู่แล้ว แต่คนที่ยังไม่รู้มันจะเป็นประโยชน์ได้นะครับ ยังใงกูรูก็แกล้งทำเป็นไม่ได้อ่านไปก่อนก็ได้
เนื้อหาที่ผมจะเขียนถึงคือ ตำแหน่งของโปรดักส์ควรอยู่ตรงไหนของเลเอาท์ และในแง่จิตวิทยาผู้ดูจะรู้สึกกับมันอย่างไร เอาเท่านี้ก่อนครับ ไปดูกันเลย…
1.มุมซ้ายบน
เป็นที่เดียวที่บอกได้เลยว่าไม่ควรเอาโปรดักส์ไปวางเลย มันจะดูไม่เข้าท่าเอามากๆเพราะ ผู้คนคุ้นเคยกับพื้นที่ตรงนั้นในฐานะโลโก้ ไม่ว่าจะ ทีวี เว็บไซต์ หรือ อินฟอร์เมชั่นใดๆ มุมมบนซ้ายเหมือนจะถูกยกให้เป็นบ้านของโลโก้เท่านั้น ถ้าโปรดักส์คุณไม่ใช่โลโก้อย่าไปเสี่ยงเลยครับ
2.มุมขวาบน
จริงๆก็คล้ายกับมุมซ้ายบนนะเพราะในทีวีเองก็มักจะมีโลโก้อะไรต่อมิอะไรไปเกะกะอยู่แถวนั้นเสมอ หรือแม้แต่เอกสารทั่วๆไปเราจะเห็นว่ามันจะเป็น ตำแหน่งระบุ วันเวลา สถานที่หรือตัวเลขรหัสซะมากกว่า ในความคุ้นเคยทั่วไปนั้นการเห็นภาพสินค้ามันเหมือนจะจบแล้วแต่จริงๆมันไม่ใช่ ตรงมุมมขวาบนมันยังไม่ใช่ที่จบ เพราะมันยังมีเนื้อหาด้างล่างอีกมากมายเราไม่ควรพยายามสปอยล์ด้วยการเอาสินค้าไปวางดักสายตาเลยครับ
3.มุมซ้ายล่าง
ตรงโซนนี้ดูดีมาก เพราะมันเป็นจุดที่ไม่รบกวนสายตามากเกินไป และการมีอยู่ของมันก็ทำให้รู้สึกรำคาญ แต่เมื่อมองภาพแบบกว้างๆก็ยังสามารถเห็นได้ชัดจากการกวาดสายตาครั้งเดียว แต่การวางซ้ายล่างนี้เหมาะกับ…
1. เนื้อหาที่น่าสนใจและอยากให้คนดูมีโฟกัสมันจะไม่ถูกรบกวนด้วยอะไรเลยจากการกวาดสายตามาทางขวามันจะมีแต่สิ่งที่เราอยากให้คนดูรู้และอ่านหรือดูมัน
2. ไม่ได้พูดเรื่องดีๆของสินค้า หรือพูดในสิ่งที่ห่างใกลจากแบรนด์ ( Unbranded Content ) หรือให้อารมณ์แง่ลบ มีภาพรุนแรงเนกาทีฟเพราะเมื่อเราแอบอยู่ด้านซ้ายเราจะไม่ดูเป็นเจ้าของเรื่องราวนั้นมากนัก
4.มุมขวาล่าง
เหมาะเจาะมากๆ สำหรับผมแล้วนี่คือตำแหน่งที่ดีที่สุดที่คุณจะวางแพ็คช็อตของสินค้าที่ขายของได้ดีที่สุดและดูสวยงามลงตัวได้มากที่สุด มองเร็วๆก็เห็น ตั้งใจมองก็เห็น มุมขวาล่างมันคือคำว่า “จบบริบูรณ์” ของวงการดีไซน์ แล้วทำไมเราจะไม่เอาสิ่งที่ดีที่สุดมาปิดการขายในงานของเราหละ และมันยังคู่ควรกับ..
- เนื้อหาที่เป็นสิ่งดีๆ ภาพที่สวยและมีความสุข เนื้อหาที่สร้างภาพจำแบบบวกๆให้กับสินค้า เมื่อคนดูได้รับสารนั้นไปแล้วก็จบด้วยภาพจำของสินค้าเองด้วย ทุกอย่างก็ลงเอยด้วยดี
- มินิมอลดีไซน์ประเภทที่ว่า พื้นหลังขาว มีอะไรไม่รู้อยู่กลางภาพ แล้วโปรดักส์ช็อตก็โผล่มาในมุมที่ดูดีแบบหล่อๆเลย ( จะฮิตมากในหมู่งานสแกมแอด )
- เวลาที่นึกไรไม่ออก ( อันนี้ก็เอาฮา )
แต่มันไม่เหมาะกับ…
1. โปรโมชั่น เพราะโปรโมชั่นคือการส่งเสริมการขาย เราเลี่ยงไม่ได้ถ้าเราจำเป็นต้องขยายมันให้ใหญ่ๆดังในตัวอย่างต่อไป
2. อินโฟกราฟฟิค เพราะเนื้อหาของสไตล์นั้นเองก็ไม่มีที่ยืนให้ใครแล้ว หาทางแทรกโปรดักส์ให้เป็นส่วนหนึ่งของมันจะดีกว่า
5.กลางภาพ
ไม่ต้องสงสัยเลยว่าการขยายใหญ่ใว้กลางหน้าเป็นเรื่องที่ทำได้ และไม่ควรอายที่จะทำถ้าเป้าหมายเราคือการขายสินค้า เหมาะมากๆกับ…
1. โปรโมชั่น เพราะโปรโมชั่นคือการส่งเสริมการขาย เราเลี่ยงไม่ได้ถ้าเราจำเป็นต้องขยายมันให้ใหญ่ๆจากที่ได้กล่าวมา นอกจากนี้การอยู่กลางมันยังดูทรงพลังขึ้นด้วย
2. ภาพสินค้าสวยดูดี มีการออกแบบแพ็กเกจจิ้งที่น่ามอง มีรูปทรงที่ดี มีแสงเงาที่สวยงาม ภาพมีความละเอียดสูงคมชัด จัดไปได้เลยครับ บางทีการขายของตรงๆก็ไม่น่าเกลียดหรอกขึ้นอยู่กับจุดประสงค์
3. เวลาที่นึกไรไม่ออก ( อันนี้ก็เอาฮา )
6.ซ้ายหรือขวา
ก็คือการวางแบบขนาดใหญ่เหมือนกันแต่ไม่ได้อยู่กลางภาพ อาจจะขยับไปด้านซ้ายบ้างขวาบ้างก็แล้วแต่สมดุลของเลเอาต์เลยครับ แต่วิธีการวางแบบนี้ตัวสินค้ากับเนื้อหาต้องไปด้วยกันได้ ด้วยสัดส่วนใกล้เคียงกัน
มันก็ง่ายๆแบบนี้หละครับ อย่าไปคิดอะไรซับซ้อนให้ปวดหัวเลย และพยายามอย่าติดกับดักดีไซน์ของตัวเองว่าไม่สามารถขยับอะไรได้แล้ว เลยต้องหาที่วางแบบมั่วๆ ถ้าเริมสบสนก็หยิบโจทย์ขึ้นมาดูซ้ำว่าเราออกแบบสิ่งนี้ไปเพื่ออะไร.. และสุดท้ายฝากทริคเล็กๆน้อยๆใว้หน่อยนึงครับว่า
“หากในเนื้อหาเราดีไซน์มีภาพสินค้าที่เด่นชัดแล้ว ไม่มีความจำเป็นต้องทำซ้ำซ้อนโดยเอาไปวางมุมนั้นมุมนี้อีก เพราะมันไม่ได้ช่วยอะไรเลยนอกจากการเสียสเปซไปกับสิ่งที่มีอยู่แล้ว”
ฝากติดตามเพจรวมเทคนิคและแนวคิดเกี่ยวกับการดีไซน์,ครีเอทีฟ, และ การโฆษณา เพจนี้ด้วยนะครับ Facebook/indexpendent