Design Graphic Design Illustration Inspiration

จับตาดู BOOK COVER DESIGN TRENDS 2020

แม้หลายครั้งเรามักได้ยินใครพูดกันว่าสิ่งพิมพ์ตายแล้ว ไม่มีอุตสาหกรรมใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตหนังสือจะเติบโตได้อีก โดยเฉพาะในช่วงเวลานี้ที่สื่อดิจิทัลแทบจะเป็นสื่อหลักที่ผู้คนต่างหันมาเสพ และมีการใช้งานแลกเปลี่ยนข้อมูลกันตลอดเวลา

เขาบอกกันว่าสิ่งพิมพ์นั้นกำลังจะถูกผลิตน้อยลงเรื่อยๆ จนล้มหายตายจากไปในที่สุด

แน่นอนว่านักออกแบบปกหนังสือ นักวาดภาพประกอบที่คลุกคลีอยู่ในวงการก็คงได้รับผลกระทบไปด้วยอย่างแน่นอน แต่สำหรับมืออาชีพตัวจริงนั้น งานออกแบบปกหนังสือมันไม่น่าจะหายไปไหนซะทีเดียว มันอาจจะถูกเปลี่ยนไปยังสื่ออื่นๆ เช่น E-Book เพราะคนก็ยังต้องการดีไซน์ที่ช่วยให้เห็นภาพรวมและช่วยจินตนาการถึงเรื่องราวของหนังสือนั้นๆ อยู่ดี

ซึ่งบทบาทของนักออกแบบหน้าปกหนังสือเข้ามาตรงนี้แหละครับ วันนี้เลยนำเสนอ Trend การออกแบบปกหนังสือ 7 แบบที่น่าจะฮิตกันในปี 2020 นี้ ไปดูกันเลยดีกว่า

1. Distinctive type book covers

73E45767-33CA-4139-9A85-935471B06634

คือการเล่นกับ Typography ที่โดดเด่น อย่างสนุกสนาน หลายครั้งที่หยิบเอาตัว Typeface แบบย้อนยุคมาเล่นด้วย ซึ่งตรงนี้สำคัญมากครับ เพราะการเลือกใช้ฟ้อนต์ที่ถูกต้องตรงกับ Mood & Tone ของงานเขียนจะทรงพลังและพาให้จินตนาการผู้อ่านทำงานได้เต็มที่มาก

การเล่นกับ Typo ก็ไม่มีอะไรซับซ้อนเลย ส่วนใหญ่ก็ใช้ “ชื่อเรื่อง” มาออกแบบเลย เล่นกับการจัดวางของชื่อผู้แต่งหรือสำนักพิมพ์อย่างลงตัว

2. Delicately illustrated book covers

69E4B80A-B562-4756-8193-F73DC5449029

บ่อยครั้งเพื่อความโดดเด่นไม่ซ้าใคร งานหน้าปกต้องวาดภาพประกอบขึ้นมาใหม่ บางครั้งก็อาจจะใช้ภาพประกอบชุดเดียวไปทั้งเล่ม แต่หน้าปกนั้นจะเป็นส่วนงานที่ต้อง “ปราณีต” มากที่สุด เราจึงเห็นว่างานวาดอย่างพิถีพิถันหรือมากล้นด้วยเทคนิคสุดคราฟต์จึงถูกนำมาใช้เป็นคีย์หลักของปก โดยที่บางครั้งก็แทบไม่ได้ให้ความสำคัญกับตัวอักษรเท่าไหร่เลย

งาน Illustrations ที่ดีงาม จะช่วยสะท้อนเรื่องราว ช่วยกระตุ้นและพาจินตนาการผู้อ่านไปใกลมาก และเหนือไปกว่านั้น มันยังจะน่าซื้อเก็บสะสมด้วยหละครับ

3. Rainbows and primary colors in book covers

40F0DEC4-106C-43AA-A00E-E4D59FE5D15E

อันนี้คือสไตล์เล่นกับสีสันจัดจ้านอย่างสีรุ้ง หรือบางครั้งก็ใช่แค่คู่สีน้อยๆ แต่ที่สำคัญคือเรื่องของสี ที่ต้องโดดเด่นออกมาจากชั้นวาง คือสามารถเห็นว่ามันคือสีอะไรมาตั้งแต่ใกลๆ เลยเชียว ความฉูดฉาดอาจจะไม่เหมาะกับหนังสือทุกประเภท แต่ก็บ่อยครั้งที่ปกฉูดฉาดสามารถสร้างคอนทราสต์และความน่าสนใจให้หนังสือที่เนื้อหาหม่นกว่าสีสันของปกก็เป็นไปได้

สีที่เลือกใช้จึงสำคัญมากๆ เพราะมันชักจูงคนอ่านได้ก่อนจะได้อ่านจริงเสียอีก เพราะในแง่มุมของการใช้สีนั้นมันมีจิตวิทยาที่ส่งผลต่ออารมณ์ได้ด้วย อ่านเพิ่มเติมได้ที่เรื่อง จิตวิทยาแห่งสีสัน

4. Textured book covers

1E8F720B-393B-4105-B8BB-70F78A8E78EE
ว่าไปการเล่นกับพื้นผิวแบบต่างๆ ให้รู้สึกมีเลเยอร์ที่มันสลับซับซ้อน มันก็ช่วยลวงตาให้คนเห็นนึกว่ามีมิติชวนมองได้เหมือนกันนะครับ ยิ่งคนที่เชี่ยวชาญงานคอลลาจเนี่ยจะยิ่งปะติดปะต่อภาพและตัวหนังสืออย่างสนุกเลยทีเดียว

แต่ข้อควรระวังของการทำให้ปกดูมีความเป็น Texture มากๆ ก็คือความรกครับ ถ้าประโคมเข้าไปมากๆหรือเรียลมากเกินไปจนไม่น่าดูน่ามอง ก็อาจจะแป้กได้เช่นกัน

5. Creative photography book covers

8AF9C589-54AF-4940-BD71-5A1791CAF84C

อันนี้ไม่ได้เป็นเรื่องของรูปแบบแล้ว แต่มันคือสไตล์ของงาน Visual เลยทีเดียว ที่อาจจะต้องตีความเรื่องราวในหนังสือมากหน่อย เพื่อแปลงให้เป็นภาพที่ชวนให้ขบคิดไปด้วย มันควรต้องซ่อนความหมายให้คนตีความ หรือกระตุ้นความรู้สึกระดับนึงเลยทีเดียว แต่ถ้าให้ผมสรุปสั้นๆ คือ ทำยังไงก็ได้ให้ดูแปลกไว้ก่อนนั่นหละครับ 555

ไมมีกฎตายตัวในการเ่นกับ Creative มีเพียงเคล็ดลับง่ายๆ คือการทำให้เห็นแล้วสะดุดตาไว้ก่อนนั่นเอง และอย่าเพิ่งเฉลยอะไรต้องปล่อยให้คนดูได้คิดเองเป็นส่วนใหญ่เลย

6. Found materials in book covers

76EB15DC-1832-4C12-B2DF-102EC2AF01E7

สไตล์นี้คือการตีความหนังสือให้ออกมาเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะรูปธรรมของวัสดุ พื้นผิวแบบต่างๆ ที่คนในโลกจริงมีปฎิสัมพันธ์หรือว่าคุ้นเคยอยู่แล้ว มาใช้ในการเป็นส่วนหนึ่งของปก เป็นการออกแบบให้มันผสมผสานกัน หรือแม้กระทั่งเอาไปใช้เป็นวัสดุในการพิมพ์ปกเลยก็ยังได้

7FF9DBAA-E105-406A-ADCD-A3A124B1DD8D

ส่วนใหญ่ที่เราเห็น งานแบบนี้จะดูเหมือนว่ามันคือพื้นผิวจริง ซึ่งเราก็อยากพิสูจน์ว่ามันจริงมั้ยแล้วไปหยิบจากชั้นวางมาลองลูบไล้ดู แล้วถ้าพบว่าคำโปรยหรือเนื้อเรื่องมันน่าสนใจเราก็คงซื้อหยิบกลับบ้านไปด้วยก็ได้

7. Handwritten pencil fonts in book covers

825DF58B-58D9-404B-B518-1EB6A8412867

งานวาดภาพประกอบด้วยลายมือแบบหยาบๆ หรือการใช้ฟ้อนต์ลายมือก็เป็นอีกแนวทางที่น่าสนใจไม่ใช่น้อย แม้ว่ามันจะไม่ได้มีอะไรใหม่มากมาย แต่ด้วยความที่มันช่วยให้งานเขียนดูรีแลกซ์สบายๆ มากขึ้น มันก็เลยดูว่าน่าหยิบมาอ่านมาดู แม้บางเรื่องอาจเป็นวิชาการหนักๆ แต่ด้วยสไตล์ทีเล่นทีจริงแบบนี้ ก็อาจจะชวนอ่านขึ้นมาได้เหมือนกัน


เท่านี้แหละครับ Trends การออกแบบปกหนังสือของปี 2020
โดยส่วนตัวปกหนังสือบ้านเราจริงๆ ก็มีบางสำนักพิมพ์ที่ออกแบบได้อย่างน่าสนใจมีความครีเอทีฟสร้างสรรค์ และสไตล์กราฟิกที่หลากหลายอยู่เหมือนกัน แต่ต้องยอมรับว่าโดยรวมๆ แล้ว มันก็ยังมีงานที่น่าสนใจน้อยกว่า การไปเดินดูตามร้านหนังสือต่างประเทศทั้งฝั่งอมเมริกาเอง หรือหนังสือญี่ปุ่น…
ก็หวังว่าบทความนี้จะช่วยกระตุ้นเป็นแรงบันดาลใจ ให้นักออกแบบปกหนังสือไทยๆ มาสร้างงานเจ๋งๆ ให้ชั้นหนังสือบ้านเรากันเยอะๆนะครับ

Source : 99 Designs