สรุป 10 GRAPHIC DESIGN TRENDS เด่นแห่งปี 2019
ชวนมาทำความรู้จักและเข้าใจใน 10 เทรนด์กราฟิกที่ว่ากันว่าจะได้เห็นกันจนลายตาในปี 2019 นี้อย่างแน่นอน ซึ่งต้องยอมรับก่อนว่าโลกการออกออกแบบทุกวันนี้ แคบลงอย่างมากแทบจะเล็กลงเรื่อยๆ จนกระแสต่างๆ เท่าทันกันหมดเป็นกระแสเดียวกันไปแล้ว ไม่ถูกแยกว่าจะฮิตแค่ที่ยุโรป อเมริกาหรือเอเซียเท่านั้น เทรนด์ที่ต้องใช้เวลาหลายปีกว่าจะเริ่มฮิตในที่หนึ่ง แล้วขยายมาอีกซีกโลกหนึ่ง
ด้วยความที่มันเป็นเทรนด์ มันย่อมหนีไม่พ้นถ้าวันหนึ่งจะต้องถูกเมินไม่นิยมทำกันเหมือนเดิม ซึ่งเทรนด์ที่ Behance.net คัดมานำเสนอเหล่านี้ ในอีกไม่ช้านานก็จะกลายเป็นของล้าสมัยตกยุค เหมือนโทรศัพท์มือถือรุ่นเก่า 2-3 ปีที่แล้วได้เช่นกัน
แต่แนวโน้มเหล่านี้ก็ยังมีโอกาสที่ดีและสดใสรออยู๋ข้างหน้า เพราะเทรนด์ที่จัดมานั้น มันเป็นที่นิยมมาในช่วงเวลาระดับนึงแล้ว และน่าจะยังได้รับโอกาสให้พัฒนาและคงไว้ซึ่งความฮอตฮิตต่ออีกพักใหญ่เลยทีเดียว
ไปดูกันเลยดีกว่าว่าจะมีอะไรโดนๆ บ้าง
1. Customized illustrations
ภาพประกอบที่วาดขึ้นเฉพาะกิจ เป็นทางเลือกหนึ่งของแบรนด์ต่างๆ เลือกที่จะทำเพราะมันสามารถถ่ายทอดเรื่องราวและคุณค่าของแบรนด์ได้ในหลากหลายมิติอารมณ์ จริงอยู่ที่การถ่ายภาพเป็นทางเลือกที่ง่ายและเร็วกว่าในการสื่อสารบางอย่าง แต่ภาพประกอบที่น่าสนใจ เป็นตัวแทนของบุคลิกภาพมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเพียงหนึ่งเดียว ย่อมสะท้อนมุมมองแบบไม่ซ้ำใครของแบรนด์ได้มากกว่า นักวาดภาพประกอบที่มีเอกลักษณ์จัดๆ อาจจะได้งานเหล่านี้ไปจนทำกันแทบไม่ทันเลยทีเดียว
2. 3D seamless animations
จริงๆแล้วผมก็แอบฉงนกับสิ่งนี้นะ เพราะมันไม่ใช่งานที่ใช้ในเชิงพาณิชย์ซักเท่าไหร่ มันดูเหมือนเป็นโปรเจ็คทดลองมากกว่า ความฮิตของสิ่งนี้น่าจะมาจากการที่โปแกรมสำหรับสร้างภาพ 3 มิติถูกสร้างมาให้ใช้งานได้ง่ายและเยอะขึ้นทำให้ศิลปินมีเครื่องมือใหม่ๆ มาทำการทดลองออกแบบแนวนามธรรมแบบนี้ได้มากขึ้นไปด้วย
หลักการของมันก็ไม่มีอะไรซับซ้อนนั่นคือการทำภาพเคลื่อนไหวแบบ 3 มิติให้วัตถุร้อยเรียงกันอย่างกลมกลืนสอดคล้องกันด้วยหลักการทางฟืสิกส์บางอย่าง ซึ่งจะเป็นวัตถุที่มีน้ำหนักหรืออยู่ในภาวะสูญญากาศก็ได้ ความน่าทึ่งคือจังหวะที่พอเหมาะพอดี ด๔เพลินๆ แบบวนลูปไปได้เรื่อยๆ นั่นเอง เอาจริงหากไม่ใช่แบรนด์ใหญ่มากๆ หรือแฟชั่นจ๋าๆ ก็ไม่เห็นมีใครทำนะครับ แต่ในฐานะ Desgner คนหนึ่ง นี่มันเจ๋งจริงๆ
3.Animated logos

หมดยุคแล้วกับโลโก้แบนๆ นิ่งๆ จะเปิดตัวทั้งทีต้องมีความกระดุ๊กกระดิ๊กนิดหน่อย พอเป็นกิมมิกใช้เรียกร้องความสนใจ เขาบอกว่าภาพเคลื่อนไหวเล็กๆน้อยๆ นั้นดึงดูความสนใจจากสายตามนุษย์ได้ดี ยิ่งสื่อในยุคปัจจันปรากฏในหน้าจอดิจิทัลมากขึ้น ก็ยิ่งมีโอกาสที่โลโก้ดุ๊กดิ๊กจะได้ใช้งานบ่อยขึ้นไปด้วย
เช่นเดียวกันกับภาพประกอบแบบเฉพาะตัว เพราะรูปแบบการเคลื่อนไหวของโลโก้นั้นสามารถสะท้อนบุคลิก ความเป็นตัวเองของแบรนด์นั้นๆ ได้อย่างเต็มที่เหมือนกัน
4. Cromotrends: gradients 2.0 and vivid colors
Gradients ที่สดใสให้สีสันแสบๆ เจ็บๆ ดูทันสมัยให้ความรู้สึกเทคโนโลยี อินโนเวชั่นจัดจ้านมาเต็มขนาดนี้ จะไม่มาได้อย่างไรกับเทรนด์ที่ดู “คูล” สุดๆของพ.ศ.นี้ จริงๆเราคุ้นเคยกับการไล่สี และรูปทรงฟรีฟอร์มมานานมากแล้ว มันมีแนวโน้มจะเป็นอะไรที่เชยๆ เสียด้วยซ็ำไป แต่นี่หละครับการออกแบบ เทรนด์ที่เคยตกขบวนมันวนกลับมาเป็นของใหม่ เป็นกระแสยุคใหม่ได้เสมอ และทุกวันนี้การที่อุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ สามารถให้สีที่สดใสไห้หลายล้านเฉดสีตามที่โฆษณากัน ยิ่งผลักดันในเทรนด์ Gradient สดใสแบบนี้จะยิ่งฮิตติดลมบนไปอีกพักใหญ่เลยหละ
5. Futuristic memories
เขาบอกว่านี่คือผลพวงหนึ่งจากการวนกลับของกระแสแฟชั่นการออกแบบเช่นกัน กล่าวคือการนำจุดเด่นของสไตล์ภาพในยุค 80s เช่นแสงนีออน ภาพซ้อน เอฟเฟ็กต์สัญญาณรบกวน ความแตกเกรนเป็นเส้นไม่สมบูรณ์ของภาพ ความคอนทราสต์จัดๆ หรือใช้สีคู่ตรงข้ามอันจัดจ้าน มีความลึกลับไซไฟนิดหน่อย เหล่านี้รวมๆกันเป็นสิ่งที่เรียกว่า Futuristic Memories นี่เอง
6.Isometric design
ไม่น่าแปลกใจเลยที่งาน Illustration ในรูปแบบ Isometric จะยังคงเป็นที่นิยมต่อไปในปีนี้ เพราะรูปทรงเรขาคณิตถูกมองว่าเป็นโครงสร้างของเส้นและรูปทรงที่ดูง่าย มันสามารถใช้ในการออกแบบเพื่ออธิบายอะไรบางอย่างเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายได้ เพราะอย่างที่กล่าวไปแล้วว่า รูปทรงพื้นฐานนั้นมีความแข็งแรงในแง่ของวิช่วลอยู่แล้ว เมื่อมันถูกนำมาสร้างสรรค์เป็นเรื่องราวต่างๆ จึงน่าสนใจกว่ามุมมองแบบตรงๆ ในระดับสายตา ทั่วไป
เมื่อมุมมอง Isometric เหมือนกันไปแล้ว ก็อยู่ที่ความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างองค์ประกอบอื่นแล้วหละครับ เช่น แสงเงา, คู่สี, สไตล์ ที่จะสร้างความแตกต่างของผลงานได้
7. Outline typography
ผมจำได้ว่าปีก่อนๆ เรามี Bold Typography ที่จะเน้นความใหญ่โตของตัวอักษรที่ฮิตมาก แต่มาปีนี้แนวโน้มที่น่าจะเป็นคือการทำให้ตัวอักษรนั้นเหลือแต่เส้นขอบครับ ง่ายๆก็คือการใส่ Stroke ให้มันนั่นล่ะครับ จะใส่บางหรือหนาแค่ไหนก็แล้วแต่ดุลยพินิจของผู้ออกแบบเลย แต่ก็นิยมทำกันตัวอักษรที่ใหญ่ชัดพอ ว่าเหลือเพียงเส้นขอบแล้วยังอ่านได้
ผมสังเกตเองพบว่างาน Typo แบบนี้จะนิยมใช้ในงานวิดีโอมากๆ เลย เพราะเวลาวางทับลงบน Video มันจะไปบดบังภาพเยอะแล้วมันทำให้ตัววิดีโอนั้นดูมี “อะไร” เพิ่มขึ้นไปด้วย
8.Micro-animations
ส่วนใหญ่แล้วงานแบบนี้มักจะไม่ได้ถูกนำไปใช้ตรงๆ แต่มันมีประโยชน์อย่างยิ่งในการใช้เพื่ออธิบายให้ Developer เข้าใจว่า Interaction ที่ ผู้ออกแบบต้องการควรเป็นอย่างไร?
Animation ประเภทนี้คือการทำภาพเคลื่อนไหวเล็กน้อยให้กับ User Interface Design อย่าง เว็บไซต์หรือ Mobile Application เพื่อเล่าว่าเมื่อกดปุ่มนี้ จะเกิดเอเฟ็กต์แบบไหนเท่านั้นเอง ซึ่งการอนิเมทก็ถือเป็นการสร้างประสบการณ์ผู้ใช้ไปด้วยนั้นเอง ( User Experience ) ยิ่งทำให้สมูทเท่าไหร่ก็ยิ่งดีเท่านั้น
นอกจากเป็นเครื่องมือในการบรีฟโปรแกรมเมอร์แล้ว ยังจัดเก็บเป็น Showcase เจ๋งๆ ที่เราหาดูได้ทั่ว Dribble และ Pinterest เลยนะครับ
9.Asymmetric layout
ถ้าจะแปลตรงตัวเลยคงประมาณว่า การออกแบบเลเอาต์แบบไม่สมมาตร เป็นอะไรที่อยู่ตรงข้ามกับความสามมาตร ความสมดุล ความสมเหตุสมผล นั่นคือความอิสระในการจะทำอะไรก็ทำนั่นเอง เช่นเดียวกันกับบางเทนด์ที่เล่าไปแล้ว ว่านี่ก็คือสไตล์อย่างนึงที่เคยนิยมในอดีตและมันกลับมาอีกครั้ง มาอย่างไร้กฏเกณฑ์ ความความฉีกแนวของวิช่วลที่คุณมีอิสระจะครีเอทอะไรใหม่ๆ ก็ได้ ตราบใดที่มันยังดูดี!
ปล. เทรนด์นี้ผู้เขียนเองก็แอบไม่ค่อยเก็ทนะ เพราะถ้าทำไม่ดี ไม่มีแนวคิดที่แข็งแรงพอมันก็กลายเป็นดีไซน์แย่ๆ อันหนึ่งได้เลย
10. Overlapping elements
สุดท้ายแล้วขอภูมิใจเสนอ “Overlapping Element” โปรดจงลืมความน่าเบื่อของการวางเลย์เอาต์แบบเป็นระเบียบเรียบร้อยไปก่อน เพราะแม้ว่ากริดจะจำเป็นต่อการออกแบบ แต่ไม่จำเป็นต้องห้ามให้องค์ประกอบทับกันได้นี่นา
นี่คือเทรนด์ของการออกแบบที่ดูเผินๆ ก็เป็นการวางเรียงกันของ Shape และ Typo ธรรมดานี่แหละ แต่จริงๆ แล้ว เพียงแค่วางเหลื่อมกันหน่อย ซ้อนทับกันนิด ก็ทำให้งานดูมีมิติและน่ามองขึ้นกว่าเดิมแล้ว นี่จึงถือเป็นทางที่ง่ายสุดในการหนีออกจากความจำเจของการจัดองค์ประกอบเลยเชียว
สรุป :
Source : behance.net