ว่าด้วยเรื่องของดีไซน์ที่เลียนแบบพื้นผิวและสัมผัสจากการใช้งานของวัสดุจริง
วันนี้ผมอยากพูดถึง Design Trend ที่มาได้ซักระยะนึงแล้ว นับตั้งแต่การมาของพวก Application บน OS ต่างๆเช่น Instragram หรือ Pinterest ฯลฯ ที่ฮอตฮิตขึ้นมา อันที่จริงเราได้สัมผัสกับสไตล์แบบนี้มาค่อนข้างนานแล้วแหละครับนั่นคือ mac สไตล์ ซึ่งเป็นแนวทางการออกแบบของ Apple ที่อยู่คู่สังคม Referrenceของนักออกแบบมาเนิ่นนาน ในส่วนของกราฟฟิค User interface ต่างๆ ของเค้านั่นเอง
สไตล์ที่ว่านี้จะเน้นการทำปุ่มหรือกรอบและelementต่างๆที่ใช้ในการการจัดวางที่เลียนแบบวัตถุจริงๆ เช่นพื้นผิว,ความนูน ,ความลึก , และความมีมิติ ที่ทำเสมือนหนึ่งว่าใช้งานอยู่กับของจริง ผ่านการเลียนแบบวิธีทำงานจริงที่ใช้หน้าจอสัมผัส (Touchscreen ) ซึ่งก็มาพร้อมยุค iPhone ครองโลก
ดีไซเนอร์น้อยใหญ่ทั้งไทยและต่างประเทศต่างรับเอาวิธีการออกแบบแบบนี้มาเป็นแนวทางในการออกแบบInterface ใหม่ๆ ( นั่นก็หมายรวมถึงผมด้วย ) ผมจึงรวบรวมสรุปคร่าวๆว่าดีไซน์แบบไหนเข้าข่ายSkeuomorphism บ้าง

Stitching การเย็บ ตะเข็บ เส้นประ| มักใช้กับเส้นขอบที่ต้องการดึงดูดความน่าสนใจในลักษณะ 3 มิติ เป็นลูกเล่นที่ดูเล่นๆสบายๆแต่ก็ดูเคร่งขรึมจริงจังได้เช่นเดียวกันเมื่อนำมาใช้กับ texture ที่เป็นหนัง หรือผ้าเนื้อหน้าเป็นรูปฟอร์มของสมุดออแกไนซ์หรือ case iPad แบบหรูหราหน่อย

Zigzag Borders กระดาษขอบซิกแซก ให้อารมณ์จำพวกกระดาษของขวัญ หรืองานคร๊าฟต์ทำมือเน้นความประณีต แสดงความเนี๊ยบอีกแบบหนึ่ง

Forked Ribbons ริบบิ้นพับไปพับมา การใช้ริบบิ้นเป็นแถบคาดนู่คาดนี่บางทีก็ก็พับไปพับมา ยื่นลงล่างบ้างมาจากทางขวาบ้าง มักใช้กับ Headline หรือ LOGO กับ Icon

Texture พิ้นผิวสร้างสัมผัส คือพื้นผิวที่ขรุขระสัมผัสได้เช่น หนัง ผ้า ไม้ กำแพง ผืนหญ้า แม้กระทั้งกระดาษเก่าๆ ที่แสดงให้เห็นรอยขีด ข่วน ความผุกร่อนของกำแพงหรือรูปภาพเก่าๆมักนิยมใช้คู่กับรูปแบบย้อยยุคเป็นพิเศษ
Letterpress ตัวพิมพ์นูนหรือตัวอักษรกดพิเศษ จำลองรูปแบบระบบการพิมพ์พิเศษอย่างการ ปั๊ม เจาะ กด จะมีลักษณะเหมือนตัวอักษรมีมิติเหมือนยุบลงไป จริงๆสร้างความน่าสนใจให้กับ Headline หรือ Icon

Nostalgia Illustrate ภาพโบราณพาฝัน เน้นการใช้ภาพประกอบจากยุคเก่า โบราณ ส่วนมากเป็นภาพ Drawing หรือ ลงสีก็จะมีเกรนๆเป็นสไตล์แบบ ย้อนยุค

Muted Tones กราฟฟิกอารมณ์เดียว มักจะใช้ภาพประกอบที่สีสันน้อยๆอาจมีคู่สีเพียงสองสี เป็น duotone หรือ monochrome ไปเลยก็มี และจะ คุมโดนสีโดยรวมให้ค่อนข้างหม่นหรือออกไปทางพาสเทล ดีไซน์แบบนี้จะใช้ดีกับภาพประกอบเก๋ๆ

Justified or Centered Typography (JCT) ตัวหนังสือกลางจัด ไม่มีอะไรซับซ้อนสำหรับแบบนี้คือการใช้ typo จัดกลาง ตัวเล็กบ้างใหญ่บ้าง เน้นที่ฟ้อนที่สวยๆ จะเอาแบบ หนักแน่นก็ได้งดงามอ่อนช้อยก็ใช้ได้ นำมาจัดเรัยงชิดกลางให้เป็นกลุ่มก้อนกราฟฟิค เท่านี้ก็น่าจะทรงพลัง ขึ้นมาได้แล้วใช้ควบคู่ไปกับ texture และ letterpress จะยิ่งดูงดงาม

Circular Script Logotypes (SCL) ตราปั๊มนำสมัย กราฟฟิคกลมๆมีโลโก้หรือตัวอักษรแบบลายมือประทับอยู่ ให้นึกภาพตรางยาง ตราปั๊มหัวจดหมายเวียนสมัย ก่อน มาวันนี้มันกลับมาในรูปแบบกริมมิกเล็กๆ ใว้ใช้ประดับหรือบอกสถานะอะไรบางอย่างในตัวงานดีไซน์

Skeuomorphic Features เหมือนจริงสุดๆ คือรูปแบบการทำกราฟฟิกเลียนแบบให้เหมือนอุปกรณ์ที่เหมือนจริงมากๆ เช่นชั้นหนังสือ ปุ่ม volume สวิตช์ เปิด-ปิดต่างๆ มักมีแสงเงาและมิติที่สมจริง ส่วนใหญ่ชอบใช้ textureของไม้ หนัง โลหะ และมีแสงนีออน
เรืองๆมาประกอบด้วยบางครั้งเพื่อเพิ่มความเหมือนจริง ก็เท่านี้ก่อนแล้วกันครับ สิ่งที่ผมเขียนอ้างอิงมาจาก Smashing Magazine เอาตีตามความเข้าใจของตัวเอง ผิดถูกยังใงสามารถแนะนำพูดคุยกันได้ครับ คราวหน้าถ้ามีโอกาสผมจะเขียนถึงสไตล์ Metro ที่สวนทางกับ แนวทาง Skeuomorphism นี้เหลือเกิน ด้วยความพยายามจะสร้างเทรนด์เรียบง่ายได้ใจความของ microsoft window 8 ที่ก็เป็นอีกรูปแบบที่น่าสนใจ
Credit | Smashing Magazine